Course Content
บทเรียนที่ 1:
พันธสัญญาเดิมประกอบด้วยหนังสือ 39 เล่มที่เขียนมากว่าพันปี - กว่าพันๆ ปี ที่มนุษย์มีชีวิต หายใจ ให้ก าเนิด และตาย กว่าพันปีแห่งสงคราม ความขัดแย้ง และกลุ่มคนต่างๆ เดินทางข้ามดินแดนอันกว้างใหญ่ พันธสัญญาเดิมประกอบด้วยบทกวี ประวัติศาสตร์ ค าเทศนา เรื่องสั้น ถูกเขียนขึ้ นโดยนักเขียนหลายคนในวัฒนธรรมที่แตกต่างกันอย่างมากมาย แต่ก็มีความเป็ นหนึ่งเดียว ความเป็ นอันหนึ่งอันเดียวกันที่น่าประทับใจ - ของพระเจ้าองค์เดียวที่ไม่เปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์แห่งมนุษยชาติ
0/2
บทเรียนที่ 2
การทรงสร้างและสวนเอเดน
0/2
บทเรียนที่ 3
การล้มลง ~ เป็ นสองส่วน
0/2
บทเรียนที่ 4
การทรงสร้างใหม่
0/2
LB301 เบญจบรรณ (Pentateuch)
About Lesson

√ ชื่อ – เฉลยธรรมบัญญัติ

ชื่อนี้ คือการบันทึกการกล่าวอำลาของโมเสสต่ออิสราเอล ก่อนที่พวกเขาจะเข้าไปในดินแดนแห่งพันธสัญญาบนที่ราบโมอับ ภาษาฮีบรูยอมรับสิ่งนี้โดยตั้งชื่อจากประโยคแรกของหนังสือ “คำ” LXX หมายถึง “หนังสือกฎหมายเล่มที่สอง” หรือ “การบอกเล่ากฎหมายฉบับที่สอง” ซึ่งมีความสัมพันธ์กับพระธรรมอพยพ ที่ซึ่งกฎหมายฉบับแรกเกิดขึ้นในพระคัมภีร์

 √ สถานที่

สถานที่ๆ ทำให้เกิดพระธรรมเฉลยธรรมบัญญัติคือ “ที่ราบแห่งโมอับ” ฝั่งแม่น้ำจอร์แดนจากดินแดนแห่งพันธสัญญา ประชาชนชาวอิสราเอลตั้งค่ายฝั่งแม่น้ำจอร์แดนตั้งหน้าตั้งตารอที่จะข้ามแม่น้ำเพื่อเข้าสู่ดินแดนแห่งพันธสัญญา เฉลยธรรมบัญญัติพรรณาให้เห็นว่าเป็นการเทศนาของโมเสส ซึ่งเป็นคำเทศนาที่มีจุดประสงค์ในการเตรียมชีวิตบุตรหลานของอิสราเอลที่จะเข้าในดินแดนพันธแห่งสัญญา กฎหมายที่บันทึกไว้ในอพยพ เลวีนิติ และกันดารวิถี ถูกนำมารวมกันและนำไปใช้โดยเฉพาะกับการที่จะตั้งรกรากในคานาอัน

โมเสสเทศนายาวสามครั้ง (เริ่มใน 1:6/4:44/29:1) ครั้งที่สองนั้นยาวกว่าอีกสองครั้งและเป็นหัวใจของหนังสือ ครั้งที่หนึ่งและครั้งที่สามคือกรอบเพื่อแนะนำและอธิบายผลที่ตามมา ครั้งที่สองและเป็นส่วนที่ยาวที่สุด ดูเหมือนว่าจะมีการจัดเรียงที่สับสนของกฎหมาย แต่เมื่อล่าสุดนี้การศึกษาวรรณกรรมได้ค้นพบรูปแบบกฎหมายของหน่วยนี้ว่ามีพื้นฐานมาจากบัญญัติ 10 ประการในบทที่ 5 ดังนั้นจึงเป็นส่วนถูกขยายของบัญญัติ 10 ประการ กฎหมายเหล่านี้ในบทที่ 12-26 จัดเรียงภายใต้ประเด็นสำคัญสี่ข้อหลักที่บัญญัติ 10 ประการได้บัญญัติไว้

  √ ข้อความ

ข้อความของเฉลยธรรมบัญญัติทำหน้าที่สื่อสารกับลูกหลานของอิสราเอลดังนี้:

  • เตือนถึงสิ่งที่พระเจ้าทรงกระทำเพื่อนำพวกเขามาที่นี่ ความอัศจรรย์ของพระองค์และวิธีที่พระองค์ทรงดูแลพวกเขาผ่านถิ่นทุรกันดาร
  • เตือนถึงพันธสัญญาและกฎเกณฑ์ของพระเจ้า
  • คำเตือนเกี่ยวกับการไม่เชื่อฟังและหลีกเลี่ยงการนับถือศาสนาของผู้ที่อยู่อาศัยในดินแดนใหม่
  • การเชื่อฟังนำพระพรในขณะที่การไม่เชื่อฟังนำมาซึ่งการลงโทษ 

√ ลักษณะสำคัญ

ต่อไปนี้จะถือว่าเป็นลักษณะสำคัญของหนังสือเฉลยธรรมบัญญัติ:

  • รูปแบบการเทศนา: สุนทรพจน์ยาวๆ เป็นเรื่องการแนะนำและการตักเตือน
  • คำตรัสของพระเจ้าพูดผ่านผู้นำ (เช่น โมเสส หรือ โยชูวา)
  • คำแนะนำ: การเชื่อฟังกฎหมายของพระเจ้ากับสัญญาที่จะให้พระพร (6:1-3, 10, 11; 7:12-15)
  • คำเตือน: การไม่เชื่อฟังกฎหมายของพระเจ้าจะส่งผลให้ได้รับการลงโทษ (6:12-15; 8:11, 19-20)
  • การรวมศูนย์การนมัสการ: ที่เดียวที่พระเจ้าทรงเลือก (ฉธบ.12:1-7)
  • เนื้อหาเกี่ยวกับแผ่นดิน: การเชื่อฟังจะส่งผลให้ความเจริญรุ่งเรืองของแผ่นดินและการไม่เชื่อฟังจะส่งผลให้สูญเสียดินแดนและถูกเนรเทศ (3:18; 4:1; 8:1, 7-10; 11:8-17)

√ วัตถุประสงค์

ทำไมจึงเขียน? (วัตถุประสงค์ของพระเจ้า)

1) คนรุ่นใหม่ – คนรุ่นต่อไปจำเป็นที่จะต้องฟังเรื่องราวและให้คำมั่นสัญญาต่อพระเจ้า

2) ประชาชนจะเผชิญกับความท้าทายใหม่ๆ ที่แตกต่างกันออกไปขณะที่พวกเขาเข้าสู่ดินแดนใหม่ ดินแดนแห่งพันธสัญญา – พวกเขาจะต้องมีสถานที่ๆ เป็นศูนย์กลางของการนมัสการ เพื่อเป็นแบบอย่าง

3) อยู่ภายใต้ผู้นำคนใหม่คือโยชูวาแทนที่จะเป็นโมเสส

4) การล่อลวงใหม่ต่อหน้าพวกเขา (ไม่ให้เข้ากับศาสนาท้องถิ่นและรูปเคารพ) ต่างจากถิ่นทุรกันดาร (ที่อยากกลับสู่อียิปต์)

5) ข้อความใหม่ที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น – “จงรักพระเจ้าด้วยสุดใจของเจ้า…”  

คำว่ารักใช้ 21ครั้งในฉธบ. โดยคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์

         √ สนธิสัญญา Suzerain-vassal

เฉลยธรรมบัญญัติทำตามโครงร่างของสนธิสัญญาSuzerain-vassal ของ ANE รูปแบบที่ได้รับการค้นพบในศตวรรษนี้ แต่ความยาวของเฉลยธรรมบัญญัติยาวเกินกว่าสนธิสัญญาใดๆ ที่เคยค้นพบ

เฉลยธรรมบัญญัติ                                ANE (โดยเฉพาะ Hittite แห่งสหัสวรรษที่ 2)

1) คำนำ 1: 1-5                                              บทนำชื่อผู้เขียนสนธิสัญญา

2) อารัมภบททางประวัติศาสตร์ 1:6-4:49       อารัมภบทประวัติศาสตร์กำหนดตาม

ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายต่างๆ

3) เงื่อนไข 5:1-26:19                                    เงื่อนไขอธิบายความรับผิดชอบร่วมกัน

        ของฝ่ายต่างๆ

                                                                เอกสารประกอบคำอธิบายสนธิสัญญา

                                                                         และการจัดการเพื่อข้าราชบริพาร

                                                                         ให้อ่านเป็นระยะ

                                                                รายชื่อของเทพเจ้าที่เป็นพยานใน สนธิสัญญา (ไม่จำเป็นต้องมีพระยาเวห์)

4) การสาปแช่งและการอวยพร 27:1-30:20 คำสาปและพรที่คุกคามข้าราชบริพารที่ 

                                                                          มีความเจ็บป่วย การถูกขับไล่     

                                                                          ฯลฯ หากทำลายสนธิสัญญา แต่

                                                                          สัญญาถึงความเจริญรุ่งเรือง/พร

                                                                          ถ้าหากซื่อสัตย์

5) การเตรียมการสืบทอดและการอ่านในที่สาธารณะ 31:1-34:5

√ จุดสำคัญและประโยชน์

จุดสำคัญและประโยชน์ของฉธบ.คืออะไร (LaSor 118-125)

1) หลักข้อเชื่อของอิสราเอลเรียกว่าเชมา 6:4-9, “โอ คนอิสราเอล จงฟังเถิด: พระยาห์เวห์ พระยาห์เวห์เท่านั้นทรงเป็นพระเจ้าของเรา ท่านจงรักพระยาห์เวห์พระเจ้าของท่านด้วยสุดจิตสุดใจและสุดกำลังของท่าน” นี่เป็นการเริ่มต้นการสอนที่สำคัญ ทั้งหมวดเกี่ยวข้องกับการส่งต่อความรู้และการอุทิศตนแด่พระเจ้าให้กับคนรุ่นต่อไป

2) พระเจ้าทรงเป็นผู้กระทำ แม้ว่าจะเห็นทั่วทั้งเบญจบรรณ ซึ่งโมเสสก็ยังเขียนคำนี้ซ้ำไปซ้ำมา เขาเตือนประชาชนไม่ให้ลืมสิ่งที่พระเจ้าได้ทรงกระทำเพื่อพวกเขา

Heilsgeschichte – ประวัติศาสตร์แห่งความรอด – การที่พระเจ้าเข้ามาในประวัติศาสตร์ของโลกถูกนำเสนอในรูปแบบที่แตกต่างออกไปในฉธบ.ที่จะมีอิทธิพลต่องานเขียนประวัติศาสตร์ในภายหลังอย่างมาก แนวคิด (1) ที่ตั้งศูนย์กลางสำหรับการนมัสการและ (2) พรกับการยึดครองดินแดนเทียบกับคำสาปกับการสูญเสียดินแดนกลายเป็นพื้นฐานสำหรับการเล่าเรื่องทางประวัติศาสตร์ในพระคัมภีร์ต่อไป ในผู้พยากรณ์ยุคหลัง แนวคิดเหล่านี้จะถูกนำไปใช้เกี่ยวกับอนาคต ในการที่ประชากรจะถูกส่งไปที่เป็นทาสเพราะการไม่เชื่อฟังของพวกเขา ห่างจากพระวิหาร และห่างจากแผ่นดิน แนวคิดเหล่านี้ยังประคับประคองประชาชนในขณะที่ถูกเนรเทศเมื่อพวกเขารู้สึกหมดหนทาง จะมีคนที่เหลืออยู่ที่จะได้กลับไปยังแผ่นดิน พวกเขาถูกเรียกให้จดจำสิ่งที่พระเจ้าได้ทรงกระทำเพื่อพวกเขา ตลอดเวลาที่พระองค์ได้ทรงสัญญาให้พรกับพวกเขา ถ้าพวกเขาแค่เชื่อฟังเท่านั้นและที่ว่าอนาคตได้ถูกวางแผนไว้แล้วสำหรับพวกเขา

3) การเลือกของอิสราเอลกลายเป็นความคิดที่แพร่หลายในฉธบ. พระเจ้าได้เลือกพวกเขาและนี่เป็นพื้นฐานสำหรับคำเทศนาทั้งหมดของโมเสส นี่หมายความว่าพระเจ้าไม่สนใจคนอื่นๆ หรือ? ไม่ใช่ พระองค์ทรงต้องการให้อิสราเอลถ่ายทอดความจริงของพระเจ้าไปสู่คนอื่นๆ เพื่อบรรดาเผ่าพันธุ์ทั่วโลกจะได้พรเพราะเจ้า (ปฐก.12: 3) การที่จะทำเช่นนั้นประชาชนจะต้องเชื่อฟังพระเจ้า วิธีหนึ่งที่พวกเขาต้องยึดติดกับพระเจ้าของพวกเขาและเชื่อฟังพระองค์ คือรักษาสถานนมัสการที่กำหนดไว้ (12:1-14) บรรดาผู้ที่ถูกเลือกจะต้องปฏิเสธที่จะนมัสการในสถานที่ที่บูชาเทวรูปและรูปเคารพอื่นๆ แต่สถานที่เดียวที่พระเจ้าจะทรงเลือกไว้สำหรับพวกเขานั่นคือ เอบาล จากนั้นก็เชเคม ไชโลห์ และเยรูซาเล็ม เมื่อราชอาณาจักรถูกแบ่งออกหลังจากสมัยของกษัตริย์เดวิดและซาโลมอน หนึ่งในการกระทำแรกของกษัตริย์อาณาจักรเหนือคือการจัดตั้งสถานนมัสการสองแห่งโดยไม่ได้รับการอนุญาตจากพระเจ้า และนั่นเป็นจุดเริ่มต้นของจุดจบสำหรับอาณาจักรเหนือ

1)   พันธสัญญาแห่งความสัมพันธ์ทำบนพื้นฐานของความรักซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมาก พระเจ้าไม่ได้พยายามที่จะรักษาความรับผิดชอบที่เท่าเทียมกันทั้งสองฝ่ายในสัญญาของคู่ค้าที่เท่าเทียมกัน (ความรับผิดชอบของพระองค์นั้นยิ่งใหญ่กว่าเสมอ) และพระองค์ก็ไม่สร้างสิทธิในการทำพันธสัญญาผ่านการบังคับ (ดังเช่นในสนธิสัญญา suzerain-vassal) ซึ่งเป็นธรรมเนียมใน ANE พันธสัญญาของพระองค์นั้นมีพื้นฐานอยู่บนความรัก (7:8 “เพราะพระยาห์เวห์ทรงรักท่านทั้งหลาย…”) และด้วยความสัตย์ซื่อของพระองค์ ดังนั้นแม้ว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะล้มเหลวในภาระหน้าที่ของตน แต่พระเจ้าจะไม่ทำลายพันธสัญญา ไม่มีที่อื่นในเบญจบรรณที่เเสดงให้เห็นหลักการพื้นฐานของกฎแห่งความรักและระบุไว้อย่างชัดเจนเช่นนี้ พื้นฐานแห่งความสัมพันธ์ของประชาชาติต่อพระเจ้านั้นเกิดจากความรักของพระองค์ที่มีต่อพวกเขา และจากการตอบสนองที่เหมาะสมในการเชื่อฟังของพวกเขา เมื่อประชากรของพระเจ้าทำลายพระบัญญัติของพระองค์ พวกเขาได้ทำลายความสัมพันธ์แห่งความรัก (มธ.22:35-40; ยน.14:15) การเชื่อฟังกฎหมายของพระเจ้าเป็นผลพลอยได้จากความสัมพันธ์ของความรัก ความรักคือแก่นแท้ของความสัมพันธ์ กฎหมายเป็นผลลัพธ์ตามธรรมชาติ ความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้ากับประชาชนนั้น มากเกินไปที่จะมุ่งเน้นไปที่การกลั่นตัวเองเป็นเพียงการเชื่อฟังตามกฎเท่านั้น จากการอ้างอิงถึงความรักของพระเจ้าที่พบในเบญจบรรณ มีเพียงครั้งเดียวเท่านั้นที่พบอยู่นอกพระธรรมเฉลยธรรมบัญญัติ จากด้านศักดิ์สิทธิ์ของพันธสัญญา จุดเน้นคือพระสัญญา – สิ่งที่พระเจ้าเสนอคือความสัมพันธ์ที่จะดำเนินต่อไปและจัดเตรียมให้สำหรับความต้องการของประชาชน ความเจริญรุ่งเรือง (พระพร) และในคนรุ่นหลัง (รุ่นอนาคต) การมุ่งเน้นไปที่สัญญานี้ย้อนกลับไปตั้งแต่สมัยของอับราฮัม จากด้านมนุษย์การมุ่งเน้นอยู่ที่พระบัญญัติข้อแรกคือความเชื่อและความไว้วางใจในพระเจ้าเท่านั้น “เงื่อนไข” ที่แท้จริงเพียงอย่างเดียวที่มีต่อประชาชนคือความเชื่อและความไว้วางใจ การไม่ซื่อสัตย์ต่อพระเจ้านั้นแสดงให้เห็นในการนมัสการเทพเจ้าองค์อื่นๆ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการขาดความเชื่อและความไว้วางใจในพระเจ้าองค์เดียวทรงจัดเตรียมสิ่งที่เราต้องการ เทพเจ้าเหล่านั้นอาจเป็นรูปเคารพที่ทำจากไม้และทองสัมฤทธิ์ แต่พวกมันก็อาจแสดงถึงรูปเคารพแห่งความมั่งคั่ง ความอยุติธรรม และการขาดความเมตตาต่อผู้อื่น เราถูกเรียกให้ซื่อสัตย์ต่อพระเจ้าเช่นเดียวกับที่ชาวอิสราเอลถูกเรียกไม่ให้มีพระเจ้าอื่นใด ดังนั้นพระสัญญาจึงเป็นสัญญาที่ถาวร แม้ว่าการมีส่วนร่วมในการบรรลุเป้าหมายนั้นไม่ได้รับประกันกับทุกคนหรือคนทุกรุ่น พระสัญญาอยู่ที่นั่นเสมอสำหรับผู้เชื่อที่จะยึดมั่นและพวกเขารู้ว่าพระเจ้าจะทรงทำให้สำเร็จ (Terence E. Fretheim, Deuteronomic History, Nashville: Abingdon Press, 1983: 23)

5) แรงโน้มถ่วงของบาปเห็นได้อย่างชัดเจนในฉธบ. คำแนะนำถูกประกาศออกไปว่า เมื่อพวกเขาเข้าสู่ดินแดนแห่งพันธสัญญาให้ทำพิธีอวยพร/คำสาปแช่ง 6 เผ่ายืนที่ภูเขาเกริซิมให้พร และอีก 6 เผ่าอยู่ที่ภูเขาเอบาลสำหรับคำสาปแช่ง การละทิ้งความเชื่อหรือการไหว้รูปเคารพเป็นบาปที่ร้ายแรงที่สุดของบาปทั้งหมด (29:18-20) ความตายคือผลลัพธ์ที่เป็นไปได้เพียงอย่างเดียว เนื่องจากเป็นภัยคุกคามโดยตรงต่อหัวใจของความสัมพันธ์แห่งพันธสัญญา

√ กฎหมาย แผ่นดิน การเป็นผู้นำ และการกบฏ

ผู้เขียนเฉลยธรรมบัญญัติพัฒนาศาสนศาตร์ทั้งหมดของเขา โดยคำนึงถึงความสำคัญของกฎหมายและแผ่นดินของพระยาเวห์ มันเป็นดินแดนที่อิสราเอลกำลังจะเข้ายึดครองและมีกฎหมายที่พวกเขาจะต้องปฏิบัติตาม สำหรับชาวอิสราเอลคือดินแดนที่มีกฎหมายบัญญัติไว้[1] เฉลยธรรมบัญญัติหลอมรวมกับดินแดนแห่งพันธสัญญาที่ทำขึ้นมาเพื่อปิตาจารย์ในยุคต้นและประเพณีของการให้กฎหมายที่ซีนาย[2] กฎบัญญัติเป็นข้อบังคับ ให้แนวทางเมื่ออยู่ในแผ่นดิน พวกเขายังมีเงื่อนไขในการปฏิบัติตามเท่านั้นที่จะได้รับและบำรุงรักษาแผ่นดินนั้น โดยการเชื่อฟังกฎหมายของพระยาเวห์ ชาวอิสราเอลสามารถทำให้ใกล้เคียงความบริสุทธิ์ของพระองค์และรักษาดินแดนของพระองค์ให้บริสุทธิ์ ผ่านการละเมิดกฎหมาย พวกเขาทำลายความบริสุทธิ์ของตนเองและไม่สามารถอยู่ในดินแดนศักดิ์สิทธิ์อันบริสุทธิ์นี้ได้อีกต่อไป[3] ดินแดนจึงกลายเป็นกระจกสะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมทางศาสนาและจริยธรรมของผู้คนในการเชื่อฟังหรือขาดความตั้งใจในการทำตามพระประสงค์ของพระเจ้า[4] มันกลายเป็นมาตรฐานสำหรับชีวิตหรือความตาย การได้รับพระคุณที่ได้มาเปล่าๆ ของพระเจ้านั้นถูกสงวนไว้โดยการเชื่อฟังเท่านั้น

ความสำคัญของดินแดนตอนนี้ไม่ได้อยู่ในการปฏิบัติตามพระสัญญาอย่างไม่มีเงื่อนไข (เหมือนที่เคยทำมาตั้งแต่สมัยของอับราฮัม) แต่เป็นการเชื่อฟังอย่างต่อเนื่องต่อผู้ที่ให้ไว้ (จากจุดนี้ต่อไปข้างหน้าในประวัติศาสตร์ของบรรดาผู้ที่ถูกเลือก) ข้อกำหนดที่อิสราเอลต้องยอมรับไม่ใช่ดินแดน แต่ต้องมีพระยาเวห์เป็นผู้นำของพวกเขา อิสราเอลต้องเรียนรู้การเชื่อฟังต่อผู้ทำพันธสัญญาด้วยความเชื่อและความรัก หรือไม่ก็สูญเสียดินแดนเอง[5] การมีความสัมพันธ์กับพระยาเวห์ ไม่ใช่ของประทานจากพระองค์เป็นสิ่งสำคัญยิ่งและสำคัญที่สุด ดังนั้นประเด็นสำคัญในหลายเรื่องราวของพระธรรมอพยพและกันดารวิถี เรื่องของกฎหมาย ที่ดิน ความเป็นผู้นำ และการกบฎนั้น ในที่สุดก็นำไปสู่ข้อสรุปทางศาสนศาสตร์ที่สมบูรณ์และครบถ้วนในเฉลยธรรมบัญญัติ                                 

ศุนย์กลางแห่งการล่อลวงในดินแดนของอิสราเอลคือ อิสราเอลจะสิ้นสุดในเรื่องการจดจำและตั้งรกรากที่มั่นคงซึ่งดูเหมือนว่าจะรับประกันถึงความปลอดภัยได้ สิ้นสุดการเป็นการคนแห่งประวัติศาสตร์ที่ได้รับการแนะนำจากเสียงหนึ่งในประวัติศาสตร์ที่ให้ชีวิต การเชื่อมโยงระหว่างกฎหมายและดินแดนมีความสำคัญมาก โทราห์มีอยู่เพื่อที่อิสราเอลจะไม่ลืมว่าดินแดนนี้เป็นของใคร และอิสราเอลได้รับมาอย่างไร เพื่อรักษาประวัติศาสตร์ของประชาชนไว้โดยพระยาเวห์[6] ไม่มีการรับประกันที่ง่ายๆ ในการบรรลุเป้าหมายของพระสัญญาสำหรับคนรุ่นต่อไปเมื่อคนรุ่นที่อยู่ในถิ่นทุรกันดารสิ้นสุดลง แม้ว่าคนรุ่นต่อไปจะได้รับพระสัญญาว่าพระเวห์จะนำพวกเขาไปยังดินแดนเพื่อครอบครอง (กดว.14:31) พวกเขาก็ต้องเลือกที่จะเชื่อฟังมากกว่ากบฏ คนรุ่นที่สองนี้ยืนอยู่ที่ขอบของดินแดนแห่งสัญญาพร้อมกับสัญญาที่ยังคงรอคอยการบรรลุเป้าหมาย[7] พวกเขายังจะวางใจพระยาเวห์ในฐานะผู้นำของพวกเขาหรือไม่ในขณะที่ตอนนี้โมเสสถูกพรากไปจากพวกเขา คำถามนี้วนเวียนอยู่ท่ามกลางชาวอิสราเอล ในขณะที่เฉลยธรรมบัญญัติและเบญจบรรณเข้ามาใกล้ถึงตอนจบ ประวัติศาสตร์อิสราเอลในอนาคตจะเป็นผู้ให้คำตอบ

ในฐานะคริสเตียน อะไรที่เป็นสิ่งเทียบเท่ากับ “ดินแดน” สำหรับเราในวันนี้ พระเจ้าขอให้เรากลับไปยังที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของอิสราเอลเพื่อนมัสการพระองค์ที่นั่นหรือไม่ ความเป็นตัวตนของเราและความปลอดภัยของเราในความสัมพันธ์กับพระเจ้าอยู่ที่ตรงไหน มันไม่ได้อยู่ในสถานที่ทางกายภาพ แต่อยู่ภายในพระกายของพระคริสต์ คริสตจักรของพระองค์ ที่ซึ่งเราอยู่ในความสัมพันธ์อันน่าพอใจอย่างสมบูรณ์ของความเป็นทั้งหมดกับพระเจ้า

√ หนังสือเล่มนี้มีอิทธิพลต่อผู้คนในพระคัมภีร์ในภายหลัง

เฉลยธรรมบัญญัติมีอิทธิพลต่อผู้คนในพระคัมภีร์ในภายหลังได้อย่างไร? (LaSor 126) หนังสือเล่มนี้มีอิทธิพลอย่างมากต่อบุคคลในพระคัมภีร์ ทั้งซามูเอล เอลียาห์ โฮเชยา เยเรมีย์ ซึ่งคนเหล่านี้ได้อ้างถึงหนังสือเล่มนี้ ในช่วงรัชสมัยของกษัตริย์

โยสิยาห์มีความเชื่อกันว่าหนังสือกฎหมายที่ถูกค้นพบในพระวิหารคือพระธรรมเฉลยธรรมบัญญัติ และนี่คือสิ่งที่ทำให้เกิดการฟื้นฟูทางศาสนา พระเยซูจัดการกับการล่อลวงสามครั้งของซาตานด้วยถ้อยคำจากฉธบ. (8:3; 6:13,16) และเมื่อถูกถามว่าพระบัญญัติข้อใดยิ่งใหญ่ที่สุด พระองค์ยก 6:5 พระธรรมเฉลยธรรมบัญญัติมีการอ้างอิงบ่อยครั้งในพันธสัญญาใหม่

√ การประยุกต์ใช้สำหรับปัจจุบัน

มีบทเรียนอะไรสำหรับเราในวันนี้?

  • สำหรับเรามีความสำคัญเพียงใดที่จะจดจำสิ่งที่พระเจ้าได้ทรงกระทำเพื่อเรา เพื่อที่เราจะไม่หยิ่งผยองในจิตใจและลืมพระเมตตาและการกระทำของพระองค์ในประวัติศาสตร์ของเราเอง
  • ความรักนั้นเป็นรากฐานของพันธสัญญาของพระเจ้ากับเราและการตอบสนองของเราต่อพันธสัญญานั้น การเชื่อฟังคือการไหลล้นของความรักของเราไม่ใช่สิ่งที่ทำให้เราเป็นที่โปรดปรานในสายพระเนตรของพระองค์
  • เพื่อเราจะระวังไม่ให้ถูกล่อลวงจากความเชื่อที่แท้จริงโดยเทพเจ้าเทียมเท็จที่อยู่รอบตัวเรา ในวัฒนธรรมของเราในวันนี้ เช่นเดียวกับประชากรที่ถูกเลือกก็ได้รับการเตือนเกี่ยวกับบรรดาเทพเจ้าในดินแดนที่พวกเขากำลังจะเข้าไป

[1] Norman R. Whybray, Introduction to the Pentateuch (Grand Rapids: Eerdmans, 1995), 98.

[2] W. D. Davies, The Territorial Dimension of Judaism (Berkeley: U. of California Press, 1982), 11.

[3] Davies, 21.

[4] Moshe Weinfeld, The Promise of the Land (Berkeley: U. of California Press, 1993), 184.

[5] Norman C. Habel, The Land is Mine (Minneapolis: Fortress Press, 1995), 46.

[6] Walter Brueggemann, The Land (Philadelphia: Fortress Press, 1977), 54, 61.

[7] Dennis T. Olson, The Death of the Old and the Birth of the New (Chico, CA: Scholars Press, 1985), 151.

0% Complete
Ask ChatGPT
Set ChatGPT API key
Find your Secret API key in your ChatGPT User settings and paste it here to connect ChatGPT with your Tutor LMS website.